By อ.วิน ศุภฤกษ์ อดุลประเสริฐสุข ขอขอบคุณชุดรูปภาพจาก PIXAbay.com บทความที่เกี่ยวข้อง ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น : ตัวแปรสุ่มคืออะไร คลิกที่นี่ครับ ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น : ตัวแปรสุ่มต่อเนื่องกับพื้นที่ใต้กราฟ คลิกที่นี่ครับ ตัวแปรสุ่ม (Random Variable) คือ ฟังก์ชันจากปริภูมิตัวอย่างของการทดลองสุ่ม ไปยัง เซตของจำนวนจริง ตัวแปรสุ่มสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ 1. ตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Random Variable) คือ ตัวแปรสุ่มที่ค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมด อยู่ในเซตที่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ (แต่สมาชิกในเซตไม่จำเป็นต้องเป็นจำนวนนับ อาจอยู่ในรูปจำนวนเต็ม หรือ ทศนิยมก็ได้) เขียนเรียงลำดับจากน้อยไปมากได้ โดยมีลักษณะที่ชี้เฉพาะออกมาเป็นทีละค่าๆไม่ต่อเนื่องกัน เซตของค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมดของตัวแปรสุ่มชนิดนี้อาจเป็น เซตจำกัด หรือ เซตอนันต์ ก็ได้ ตัวอย่างของตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง เช่น ผลของการโยนเหรียญ, ผลของการทอยลูกเต๋า และจำนวนลูกค้าที่เข้ามาในร้านใน1วัน 2. ตัวแปรสุ่มแบบต่อเนื่อง (Continuous Random Variable) คือ ตัวแปรสุ่มที่เซตของค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมด เป็นช่วงซึ่งเป็นสับเซตของจำนวนจริง ที่ไม่สามารถนับจานวนสมาชิกได้ ค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมด มีลักษณะของความต่อเนื่อง สามารถระบุเป็นตัวเลขใดๆออกมาก็ได้ภายในช่วงที่กำหนด โดยไม่มีค่าที่เป็นไม่ได้ในช่วงนั้น เซตของค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมดของตัวแปรสุ่มชนิดนี้เป็นเซตอนันต์ เท่านั้น ตัวอย่างของตัวแปรสุ่มแบบต่อเนื่อง เช่น ความเร็ว, อุณหภูมิ และความยาว การแจกแจงความน่าจะเป็น (Probability Distribution) คือ ฟังก์ชันที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าของตัวแปรสุ่มกับความน่าจะเป็นของค่านั้น การแจกแจงความน่าจะเป็นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ 1. การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Probability Distribution) คือ การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มแบบไม่ต่อเนื่อง 2. การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่อเนื่อง (Continuous Probability Distribution) คือ การแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มแบบต่อเนื่อง ตัวอย่างของตัวแปรสุ่ม 1. การทดลองโยนเหรียญ 10 เหรียญ จำนวน 1 ครั้ง ตัวแปรสุ่ม อาจกำหนดว่าเป็น "จำนวนเหรียญที่ออกหัว" ซึ่งมีค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมดจำนวน 11 ค่า คือมี 0, 1, 2, ..., 10 เหรียญ หรือตัวแปรสุ่ม อาจกำหนดว่าเป็น "จำนวนเหรียญที่ออกก้อย" ซึ่งมีค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมดจำนวน 11 ค่า คือมี 0, 1, 2, ..., 10 เหรียญ 2. การทดลองโยนลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ตัวแปรสุ่ม อาจกำหนดว่าเป็น "ตัวเลขของลูกเต๋าที่หงายขึ้นมา" ซึ่งมีค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมดจำนวน 6 ค่า คือ 1, 2, 3, 4, 5, และ 6 3. การชั่งน้ำหนักของนักเรียน ตัวแปรสุ่ม อาจกำหนดว่าเป็น "น้ำหนักของนักเรียน" ซึ่งมีค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมดอยู่ในช่วงของน้ำหนัก เช่น 40-80 กิโลกรัม 4. การเก็บข้อมูลอายุของนักเรียน ตัวแปรสุ่ม อาจกำหนดว่าเป็น "อายุของนักเรียน" ซึ่งมีค่าที่เป็นไปได้ทั้งหมดอยู่ในช่วงของอายุ เช่น 12-18 ปี ตัวอย่างของการแจกแจงความน่าจะเป็น 1. การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่องของ "จำนวนเหรียญที่ออกหัว" ในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ จำนวน 1 ครั้ง และ กำหนดให้เป็นกรณีที่ความน่าจะเป็นเท่า ๆ กันทุกค่า P(0) = 1/2 P(1) = 1/2 2. การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่องของ "ตัวเลขของลูกเต๋าที่หงายขึ้นมา" จากการโยนลูกเต๋า 1 ครั้งและ กำหนดให้เป็นกรณีที่ความน่าจะเป็นเท่า ๆ กันทุกค่า P(1) = 1/6 P(2) = 1/6 P(3) = 1/6 P(4) = 1/6 P(5) = 1/6 P(6) = 1/6 ประโยชน์ของตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็นมีประโยชน์มากมาย เช่น ใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ในการตัดสินใจ ตัวอย่างการใช้งานของตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น
ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มักใช้ตัวแปรสุ่มเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น อุณหภูมิ ความดัน และจำนวนประชากร ในการประกันภัย มักใช้ตัวแปรสุ่มเพื่อประเมินความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงที่จะเกิดการสูญเสีย ในการลงทุน มักใช้ตัวแปรสุ่มเพื่อประเมินผลตอบแทน เช่น ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น เนื้อหาฉบับเต็มคลิกที่นี่ ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น Comments are closed.
|